เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือ บริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่
ภวังคจิต. ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ ? แก้ว่าไม่มี. จริงอยู่
จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใด
อย่างหนึ่งท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์. แม้จิตนี้
ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะปราศจากจปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปภัสสร.
บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิต นั้น. บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่
อุปกิเลส ที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.
บทว่า อุปกิเลเสติ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
เศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.
เศร้าหมองอย่างไร ? เหมือนอย่างว่า บิดามารดา หรืออุปัชฌาย์
อาจารย์มีสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา
ไม่สอน ไม่พร่ำสอน บุตร หรืออันเตวาสิก และสัทธิวิหาริกของตน
เพราะเหตุที่บุตร และ สัทธิวิหาริกอันเตวาสิก เป็นผู้ทุศีล มีความ
ประพฤติไม่ ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียน
เสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น. พึงเห็นภวังคจิต
เหมือนบิดามารดา และอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความ
ประพฤติ. ภวังคจิต แม้จะบริสุทธิ์ตามปกติ ก็ชื่อว่าเศร้าหมอง
เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ
โทสูและโมหะ ซึ่งมีความกำหนัดขัดเคือง และความหลงเป็นสภาวะ

ในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้น ได้ความเสีย
ชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



แม้ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
จิต ก็คือภวังคจิตนั่นเอง. บทว่า วิปฺปมุตฺตํ ความว่า ภวังคจิต
นั้น ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ในขณะแห่งชวนจิต เกิดขึ้นด้วย
อำนาจกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตประกอบด้วยไตรเหตุเป็นต้น
ย่อมชื่อว่า หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา. แม้ในที่นี้ ภวังคจิต
นี้ท่านเรียกว่าหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ด้วยอานาจ
กุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต เหมือนมารดาเป็นต้น ได้รับ
ความสรรเสริญและชื่อเสียงว่า พวกเขาช่างดีแท้ ยังบุตรเป็นต้น
ให้ศึกษา โอวาท อนุสาสน์ อยู่ดังนี้ เหตุเพราะบุตรเป็นต้น เป็น
มีศีล สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ฉะนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 10

จบ อรรถกถาปณิหิตอัจฉวรรคที่ 5